บทความธุรกิจ

ความหมายของธุรกิจ (Meaning of business)
    ธุรกิจ คือกิจกรรมการผลิตสินค้า การบริการ รวมถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของคนในสังคม โดยไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่แค่ไหน ก็จะมีเรื่องของผลกำไรเข้ามาเป็นส่วนสำคัญเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางธุรกิจ และทำให้ธุรกิจนั้นๆสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
วัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ (Objective of business)
-                   เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
-                   เพื่อให้เกิดผลกำไร
-                   เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับชุมชน
-                   เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานในองค์กรรวมถึงผู้บริโภค
-                   เป็นการสร้างสรรค์สิ่งดีๆเพื่อให้เกิดความเจริญทางสังคม

ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ
                1. คน (Man)  เป็นทรัพยากรที่ก่อให้เกิดการดำเนินกิจการทางด้านธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร หรือ ฝ่ายปฏิบัติการที่เป็นพนักงานทั้งหมด เพราะคนถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจออกมาสำเร็จ
                2.เงินลงทุน (Financial resources) เป็นสินทรัพย์ที่มีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งเพื่อใช้ประกอบการดำเนินการทางธุรกิจ ซึ่งทุนนี้อาจไม่อยู่ในรูปของตัวเงินเพียงอย่างเดียว อาจเป็นได้ทั้ง ที่ดิน หรือตึกสำนักงานต่างๆก็ได้ เป็นต้น
             3. วัตถุดิบ (Material resources) การผลิตสินค้าจำเป็นต้องอาศัยวัตถุดิบ ถ้าธุรกิจนั้นเป็นธุรกิจการผลิต เช่น เครื่องจักรกล วัสดุ อะไหล่ต่าง จะต้องมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ และต้องมีการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดต้นทุนทางวัตถุดิบต่ำ เพื่อที่จะได้ส่งผลให้เกิดกำไร
          4. การบริหารงานหรือการจัดการ (Management) ต้องมีการดำเนินการที่เป็นไปตามระเบียบขั้นตอน เพื่อให้เกิดผลสำเร็จของงานที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งในด้านของการบริหารจัดการบุคคล ต้นทุน วัตถุดิบ รวมถึงขั้นตอนการทำงาน เป็นต้น

ความต้องการของผู้บริโภค (Consumer Needs)
ความต้องการของผู้บริโภค คือ ความต้องการ ในการที่จะอยากได้รับสินค้าและบริการที่นำมาซึ่งความพึงพอใจ โดยคาดหวังกับความต้องการของตนว่าจะต้องได้รับการตอบสนองที่ดี ทั้งในส่วนของเรื่องคุณสมบัติด้านประโยชน์ใช้สอยรวมถึงการให้บริการจากผู้ขายสินค้านั้นๆ
                สำหรับการที่เจ้าของธุรกิจเลือกที่จะขายสินค้าใดๆต้องมีการวางแผน มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคมาวิเคราะห์การวางแผนการตลาด เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะลงมือดำเนินธุรกิจ และเหตุผลที่ต้องมีการสำรวจตลาดหรือสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคนั้นก็เพราะว่า ความต้องการในการใช้สินค้าส่วนใหญ่ของผู้บริโภคนั้น จะเป็นสินค้าจำเป็นที่มีผู้ผลิตอยู่เป็นจำนวนมากอยู่แล้ว ดังนั้นถ้าหากเราจะทำธุรกิจรูปแบบเดียวกันก็ต้องทำการศึกษาตลาดของผู้บริโภค และตลาดของผู้ผลิตรายอื่น ว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่นั้นยึดติดกับยี่ห้อสินค้าหรือไม่ หรือผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าประเภทใดเขตพื้นที่ไหน เป็นต้น เพื่อเราที่จะได้นำมาพัฒนาและต่อยอดสินค้าต่างๆเหล่านั้น เพื่อให้เกิดความแตกต่าง ความโดดเด่น และเป็นการสร้างจุดขายให้กับตัวสินค้าและผลิตภัณฑ์ของเรามากยิ่งขึ้น
                และอีกกรณีคือการสำรวจตลาดผู้บริโภคในปัจจุบันว่า ผู้บริโภคกำลังมีความต้องการสินค้าแบบใด เพื่อที่ผู้ผลิต จะได้นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์และผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค เช่น

เทรนด์ผู้บริโภคของโลกปี 2557
โดยในปี 2557 Euromonitor ได้เผยแพร่ 5 แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคของโลก ดังนี้  
       (1) การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
       ผู้บริโภคในสังคมปัจจุบันให้ความสำคัญกับการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาโรคภัยไข้เจ็บที่เพิ่มขึ้นมาก ทั้งโรคอ้วน โรคไขมันในเส้นเลือดและโรคไต โดยมีสาเหตุสำคัญจากการรับประทานอาหารบางประเภทมากเกินไปประกอบกับสังคมปัจจุบันมีค่านิยมการมีรูปร่างผอม เพราะได้รับอิทธิพลจากภาพลักษณ์ของนักแสดง นางแบบ และนายแบบ ในสื่อบันเทิงต่างๆ
       กลยุทธ์ของผู้ผลิตอาหาร รวมถึงเครื่องดื่ม จึงมุ่งลดน้ำตาล ไขมัน และเกลือ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
       นอกจากนี้ ความต้องการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพยังรวมถึงอาหารประเภทเส้นใย เช่น ผัก และผลไม้ โดยล่าสุด McDonald’s ในสหรัฐฯ ริเริ่มแนวคิดที่จะเพิ่มเมนูสลัดและผลไม้ นอกเหนือจากมันฝรั่งทอดเพียงอย่างเดียวเพื่อสร้างภาพลักษณ์ความใส่ใจต่อสุขภาพ ทั้งนี้ สำหรับประเทศที่มีความตระหนักถึงอาหารเพื่อสุขภาพในระดับสูง โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว อาหารที่ผลิตจากเกษตรอินทรีย์เป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคเชื่อว่าอาหารดังกล่าวปลอดภัยจากสารเคมี และยาฆ่าแมลงตกค้าง
       นอกจากนี้ อาหารสำหรับเด็กก็มีแนวโน้มการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในแนวทางเดียวกัน ตัวอย่างกรณีของบริษัท Nestlé เปลี่ยนสูตรการผลิตช็อกโกแลต Kit Kat ในสหราชอาณาจักร เพื่อลดปริมาณไขมันในอาหารตามนโยบายของภาครัฐ หรือกรณีของผลิตภัณฑ์ขนมอาทิ ขนมขบเคี้ยว และเยลลี ที่ผลิตจากเกษตรอินทรีย์ ก็มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน
    
      ( 2 )ความใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
       ผู้บริโภคในประเทศพัฒนาแล้วมักมีความตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาสังคมค่อนข้างมาก อาทิ ภาวะโลกร้อน ความเป็นธรรมต่อเกษตรกร และปัญหาการใช้แรงงานเด็ก เป็นต้น เนื่องจากข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาสังคมปรากฏชัดเจนขึ้น อาทิ สภาพภูมิอากาศโลกที่ผันผวนมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลกระทบหลักจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
       อีกทั้ง การแพร่กระจายข่าวสารและความรู้สึกของผู้บริโภคบนสังคมออนไลน์ในปัจจุบันยิ่งสร้างความตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมร่วมกันได้อย่างรวดเร็ว เช่น กรณีโรงงานเสื้อผ้าสำเร็จรูปถล่มในบังกลาเทศ ซึ่งในการสอบสวนสาเหตุของเหตุการณ์ดังกล่าวมีการเปิดเผยถึงการกดขี่แรงงานในกระบวนการผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ชั้นนำของโลก จึงก่อให้เกิดกระแสสังคมออนไลน์ต่อต้านการซื้อเสื้อผ้า           แบรนด์ดังกล่าวขึ้นอย่างรวดเร็ว
       ความสำคัญของการผลิตสินค้าที่ไม่สร้างปัญหาต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจึงมิใช่เป็นเพียงการปฏิบัติตามมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers) ดังเช่นในอดีตแต่ความใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมยังเป็นการแสดงออกถึงรสนิยมของผู้บริโภค
      
       จึงเป็นโอกาสของผู้ผลิตสินค้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น เสื้อผ้าที่ผลิตจากฝ้ายอินทรีย์ กระเป๋าที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล และบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เป็นต้น รวมถึงธุรกิจบริการ อาทิ ร้านอาหารและโรงแรม ซึ่งสามารถใช้ภาพลักษณ์ความเป็นธุรกิจสีเขียว สร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจเพื่อหลีกเลี่ยงจากการแข่งขันทั่ว ไปในตลาด
    
       (3)  ความต้องการใช้สินค้าแบรนด์เนม
       แม้ว่าที่ผ่านมากลุ่มประเทศเศรษฐกิจสำคัญของโลกอย่างยุโรปและสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ จนทำให้ความต้องการซื้อสินค้าแบรนด์เนมในประเทศดังกล่าวชะลอตัว
       อย่างไรก็ตาม ความต้องการสินค้าแบรนด์เนมในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะจีนกลับขยายตัวอย่างรวดเร็วตามกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการใช้สินค้าแบรนด์ดัง ถือเป็นการบ่งบอกถึงสถานะทางสังคมที่สูงขึ้น แนวโน้มดังกล่าวทำให้จีนกลายเป็นประเทศเป้าหมายในการจำหน่ายสินค้าของผู้ผลิตสินค้าแบรนด์เนม
       ขณะที่ นักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก จำนวนกว่า 80 ล้านคน ก็กลายเป็นลูกค้าสำคัญของร้านสินค้าแบรนด์เนมทั่วโลก สะท้อนได้จากรายงานของ UN World Tourism Organization ซึ่งพบว่ามูลค่าการใช้จ่ายในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจีนในปี 2555 แซงเยอรมนีและสหรัฐฯ ขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโลก ด้วยมูลค่าสูงถึง 102 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
       นอกจากนี้ Global Travel Intentions Study 2013 รายงานว่าในปี 2555 นักท่องเที่ยวจีนใช้จ่ายในการเดินทางต่างประเทศเฉลี่ยสูงถึง 3,824 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อเที่ยวการเดินทาง เป็นรองเพียงนักท่องเที่ยวจากซาอุดีอาระเบียและออสเตรเลีย
       นอกจากสินค้าแบรนด์เนมที่มีโอกาสขยายตัวดีในประเทศกำลังพัฒนาแล้ว การทำการตลาดด้วยการนำเสนอสินค้าแบรนด์เนมในราคาถูกลงเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภค
      
       สังเกตได้จากห้างค้าปลีกแบบ Outlet ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ อาทิ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และจีน เป็นต้น ห้างค้าปลีกประเภทดังกล่าวมีการวางจำหน่ายสินค้าแบรนด์เนมที่มีราคาถูกลง ซึ่งได้รับความนิยมทั้งจากผู้บริโภคในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวเอเชีย
      
       (4) พฤติกรรมการประหยัด
       การประหยัดเป็นพฤติกรรมการบริโภคที่พบมากขึ้นในประเทศที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ เช่น หลายประเทศในยุโรป ซึ่งผู้บริโภคต้องปรับตัวรับรายได้ที่ลดลง ตัวอย่างกลยุทธ์การซื้อสินค้าที่พบได้ ได้แก่ การรวมกลุ่มกันซื้อสินค้าเพื่อให้ได้ราคาถูกลง และการวางแผนซื้อสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ตล่วงหน้าเพื่อประหยัดค่าเดินทาง
       ในมุมมองด้านหนึ่ง พฤติกรรมดังกล่าวอาจเป็นปัจจัยบั่นทอนความต้องการซื้อสินค้า แต่หากธุรกิจใดสามารถนำเอาพฤติกรรมดังกล่าวมาปรับเปลี่ยนเป็นกลยุทธ์ ก็จะสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจได้ต่อไป ตัวอย่างเช่น กรณีของสหราชอาณาจักรพบว่า 1 ใน 3 ของโรงแรมสร้างใหม่เป็นโรงแรมแบบประหยัด (Budget Hotel) พบว่าโรงแรมประเภทดังกล่าวได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทั้งในกลุ่มวัยรุ่น หรือแม้ในกลุ่มผู้สูงอายุก็ตาม
       สำหรับกลยุทธ์ของผู้ส่งออกไทย ควรระมัดระวังการปรับขึ้นราคาสินค้าในประเทศที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้บริโภคมักอ่อนไหวต่อการปรับราคาขึ้นค่อนข้างมาก โดยอาจจำเป็นต้องเลือกช่องทางการตลาดหรือผู้นำเข้าที่สามารถปรับกลยุทธ์การตลาดให้เข้ากับพฤติกรรมการบริโภคดังกล่าว หรืออาจนำเสนอสินค้าในบรรจุภัณฑ์ที่เล็กลงเพื่อหลีกเลี่ยงการปรับขึ้นราคา ขณะที่โรงแรมแบบประหยัดก็นับเป็นโอกาสของธุรกิจท่องเที่ยวของไทยเช่นเดียวกัน
       
(5 ) การเรียนรู้ประสบการณ์ของผู้
       จากการสำรวจของ Euromonitor พบว่าร้อยละ 23 ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลกอ่านวิจารณ์สินค้าในสื่อออนไลน์อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ขณะที่ร้อยละ 12 ของผู้ตอบเขียนวิจารณ์สินค้าบนสื่อออนไลน์อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ผลสำรวจดังกล่าวแสดงถึงอิทธิพลของประสบการณ์ในการใช้สินค้าของผู้บริโภคและพลังของสื่อออนไลน์
       จึงไม่น่าประหลาดใจที่จะพบว่าผู้ผลิตสินค้าส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การตลาดผ่านกลุ่ม Blogger ซึ่งทำหน้าที่นักวิจารณ์สินค้าในมุมมองของผู้บริโภค การเปิดตัวสินค้าใหม่ในแต่ละครั้ง จะมีการส่งสินค้าให้กลุ่ม Blogger ได้ทดลองใช้เป็นลำดับแรกๆ
       ทั้งนี้ ตัวแทนจาก Amazon เว็บไซต์จำหน่ายสินค้าชื่อดัง แสดงความเห็นว่าบทวิจารณ์มีผลมากต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า โดยพบว่าแม้บางสินค้าได้รับการวิจารณ์ที่ไม่ดีนัก แต่สินค้าดังกล่าวกลับขายดีกว่าสินค้าที่ไม่ได้รับการวิจารณ์เลย
      ที่มา: โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ (8 เมษายน 2557)
จากข้อมูลเบื้อต้น เป็นการบ่งบอกถึงความต้องการของผู้บริโภคในปี 2557 ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเห็นแบบนี้แล้ว เจ้าของธุรกิจ หรือผู้ประกอบการต่างๆก็สามารถนำไปเป็นข้อมูลในการในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อให้ตอบโจทย์ต่อความต้องการของผู้บริโภคในขณะนี้ให้ได้มากที่สุด เพราะนี่ถือเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการที่จะสร้างแบรนด์สินค้าของตนเองให้ถูกใจผู้บริโภคได้ดีอีกทางหนึ่ง
 จะเห็นได้ว่าความต้องการของผู้บริโภคนั้นมีความหลากหลาย หากเราเริ่มที่จะทำธุรกิจ เราต้องทำการศึกษาข้อมูลและสภาพของความเป็นไปในด้านต่างๆให้ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะ ความต้องการของผู้บริโภคที่เราต้องคำนึงถึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากเราผลิตสินค้าที่ไม่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคก็ธุรกิจของเราก็ไม่มีทางที่จะเติบโตไปได้อย่างสวยและ และนอกจากตัวสินค้าแล้ว คุณภาพ และกระบวนการขั้นตอนต่างๆก็ต้องได้มาตรฐานอย่างแท้จริง เพราะในปัจจุบันผู้บริโภคใส่ใจทุกขั้นตอนและทุกความเป็นมาของแต่ละตัวสินค้ามากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากเราคิดจะทำธุรกิจก็ต้องคิดถึงใจเขาใจเรา เรายังอยากได้ในสิ่งที่ดีที่สุด ผู้บริโภคก็อยากได้ในสิ่งที่ดีที่สุดเช่นกัน เพราะมนุษย์มีความต้องการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
-                   ความต้องการในเรื่องของความรักและการเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ได้แก่ ความปรารถนาที่จะมีคนรัก คู่ครอง การได้รับความพึงพอใจในเรื่องของเพศ รวมถึงการยอมรับการมีตัวตนอยู่ภายในสังคม ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว หรือ เพื่อน เป็นต้น
-                   ความต้องการด้านชื่อสียง หรือความต้องการด้านความนิยม ความเคารพนับถือ เกียรติยศ การเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
-                   ความต้องการใคร่รู้ มนุษย์ทุกคนย่อมมีความอยากรู้อยากเห็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคนใกล้ตัวหรือคนไกลตัว เรื่องประเด็นร้อนต่างๆของนักร้องดาราคนดัง นอกจากนี้ยังรวมไปถึงความใคร่รู้ในเรื่องที่ตนปรารถนาที่จะได้รับความรู้เพื่อให้นำมาซึ่งความสำเร็จดังเป้าหมาย
-                   ความต้องการเกี่ยวกับสุนทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกสวยงามทางธรรมชาติ ความงดงามของศิลปะ หรือความงามของผู้คน มนุษย์ต่างให้ความสนใจอยู่ไม่น้อย

กำไร
กำไร คือสิ่งสำคัญของคนทำธุรกิจ เพราะไม่ว่าจะเป็นธุรกิจรายเล็กหรือธุรกิจรายใหญ่ เมื่อมีการลงทุนก็ย่อมต้องหวังผลกำไร เพราะหากการทำธุรกิจไม่มีส่วนของผลกำไรแล้ว ความเป็นไปที่จะมีการขยายกิจการหรือการพัฒนาธุรกิจก็ย่อมเป็นไปได้ยาก ตามหลักแล้วไม่ว่าจะต้นทุนหรือกำไรนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงเฉพาะเงิน แต่ยอมรวมไปถึงความรู้ความสามารถทางปัญญา ทางอารมอารมณ์ ความคิด การเป็นที่ยอมรับทางสังคม ส่วนกำไรก็ไม่ได้จำกัดแค่เฉพาะเรื่องเงิน แต่รวมไปถึงกำไรของชีวิต

การสร้างงาน สร้างอาชีพ
การประกอบธุรกิจนั้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใดๆก็ตาม ย่อมก่อให้เกิดการจ้างงาน เกิดรายได้ต่อคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ ผู้ขนส่งสินค้า หรือลูกจ้างพนักงานต่างๆเป็นต้น เช่น โรงงานผลิตน้ำตาลทราย นอกจากจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับเจ้าของกิจการ ยังสามรถสร้างรายได้ให้เกษตรกรที่ปลูกอ้อย แรงงานตัดอ้อย คนขายปุ๋ย คนขับรถบรรทุกอ้อย โรงงานแปรรูป พ่อค้าคนกลาง เป็นต้น เพราะทุกธุรกิจย่อมมีความเชื่อมโยงกัน ดังนั้น การประกอบธุรกิจต่างๆ จึงถือเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพให้คนในสังคม

สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานในองค์กรรวมถึงผู้บริโภค
การประกอบธุรกิจนั้นย่อมต้องมีพนักงานหรือคนในองค์กรของตน และทุกคนก็ต้องมีหน้าที่และกิจกรรมที่ทำแตกต่างกันออกไป แต่หน้าที่ทุกหน้าที่ย่อมมีความสอดคล้องและเกี่ยวเนื่องกัน แต่เหนือสิ่งอื่นใดความใส่ใจในตัวพนักงานก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างให้องค์กรธุรกิจนั้นๆเติบโตไปอย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ เพราะหากเราสามารถทำให้คนทุกคนในองค์กรเกิดความศรัทธาและความรักต่อองค์กรได้  เชื่อได้ว่าแนวโน้มการพัฒนาขององค์กรธุรกิจนั้นย่อมเป็นไปได้ด้วยดี ซึ่งผลตอบแทนที่มีต่อคนในองค์กรอาจอยู่ในรูปของ การปรับขึ้นเงินเดือนทุกปี โบนัสรายปี กิจกรรมท่องเที่ยวรอบปี หรือแม้แต่การดูแลเอาใจใส่ถึงสุขภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงาน และการสร้างบรรยากาศการทำงาน เพื่อไม่ให้เกิดความตรึงเครียดแก่พนักงานมากเกินไป สิ่งต่างๆเหล่านี้ ย่อมถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรและคนในองค์กรธุรกิจ นอกจากนี้หากตัวผู้ประกอบการสามารถสร้างหรือออกแบบสินค้าที่ใส่ใจและเข้าใจถึงสุขภาพความปลอดภัยของผู้บริโภค ก็ถือเป็นการสร้างความไว้วางใจและความเชื่อใจในตัวสินค้าให้กับผู้บริโภคในระดับหนึ่ง ถือเป็นจุดขายที่ดีขององค์กรธุรกิจนั้นๆเลยทีเดียว

การสร้างสรรค์สิ่งดีๆเพื่อให้เกิดความเจริญทางสังคม
การสร้างธุรกิจก็เปรียบเสมือนการช่วยพัฒนาประเทศ เพราะถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับภาครัฐโดยรัฐจะมีรายได้จากการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ และภาษีเงินได้นิติบุคคลจากสถานประกอบ นอกจากนี้หากการประกอบธุรกิจใดสามารถผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพได้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยเฉพาะในต่างประเทศถ้ามีการส่งออกสินค้าปริมาณมากก็จะสามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมากเช่นกัน  ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น
ประโยชน์ของธุรกิจ

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใดก็ตามสิ่งที่จะเกิดจากการประกอบธุรกิจคือ เกิดรายได้เกิดผลกำไร เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพและสร้างราย เป็นการกระจายสินค้าจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค เกิดการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆรวมถึงเกิดการพัฒนาการเส้นทางและการขนส่งสินค้าเพื่อให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น


ธุรกิจ นั้นมีความหมายที่หลากหลายรวมอยู่ด้วยกัน เช่น ธุรกิจ หมายถึง  การกระทำหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ดำเนินงานเกี่ยวกับสถาบันการผลิต  การจำหน่าย  และการให้บริการ  โดยกลุ่มบุคคลมีการกระทำร่วมกันเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกัน  คือ  กำไร  หรือรายได้  เป็นการตอบแทนการลงทุนด้วยทรัพย์สินและแรงงานในกิจกรรมนั้น  การกระทำดังกล่าวอาจจะเสี่ยงต่อการขาดทุนด้วย ความหมายของธุรกิจอาจกล่าวได้กว้าง ๆ  ว่า  ธุรกิจเป็นกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจและการพาณิชย์ที่มีเป้าหมายทางด้านกำไรในการจัดหาสินค้าและบริการ  เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค  หรือ  ธุรกิจ หมายถึง  กิจกรรมที่เกี่ยวกับธนาคาร  กาขนส่ง  การก่อสร้าง  การทำเหมืองแร่  และการให้บริการ และ ธุรกิจ หมายถึง  ขบวนการทั้งปวงของการนำทรัพยากรธรรมชาติมาเปลี่ยนสภาพด้วยขบวนการต่าง  ๆ จนเป็นสินค้าและนำไปจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค เป็นต้น
      โดยรวมแล้วจะเห็นว่า ธุรกิจนั้นจัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบที่ผู้บริโภคต้องการ และทุกกิจการต้องมีเรื่องของเงินทุนเพื่อสร้างธุรกิจ และ สิ่งที่คาดหวังรองจากตอบสนองความต้องการผู้บริโภค คือผลกำไล ซึ่งจำเป็นจะต้องได้เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจนั้นๆต่อไป

แล้วทำไมต้องทำธุรกิจ ?
เพราะธุรกิจเป็นทางเดียวที่จะทำให้เรามีโอกาสรวย คุณคิดว่าการทำงานเป็นพนักงานบริษัทกินเงินเดือนชนเดือน แถมเงินเดือนก็ปรับขึ้นปีละไม่กี่บาท แถมบางปีถ้าผลประกอบการไม่ดีอาจไม่มีโบนัสอีก  เงินเดือนทุกเดือนได้มาก็ต้องใช้ไป ไหนจะค่ากิน ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าเทอมลูก ค่าช้อปปิ้งเสื้อผ้าเครื่องสำอาง สารพัดเรื่องที่จะใช้จ่าย แล้วถามว่าคุณเหลือเก็บเดือนละเท่าไหร่ บางคนก็เหลือบางคนก็ไม่เหลือ แล้วที่เหลือจะพอต่อค่าใช้จ่ายเวลาเจ็บป่วยฉุกเฉินบ้างหรือเปล่าไม่ว่าจะเป็นตัวคุณเอง พ่อแม่ ลูก บางบริษัทหรืองานส่วนราชการอาจเบิกได้ แต่ได้เท่าไหร่ พอหรือไม่กับการที่จะรักษาคนที่เรารักให้หายป่วยได้จริงๆ จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าคนๆนึงมีความจำเป็นต่อการใช้จ่ายเงินมากแค่ไหน บางคนแทบจะมากกว่ารายได้ที่หามาได้ด้วยซ้ำ มาพูดถึงงานธุรกิจ ธุรกิจดีอย่างไร ดีตรงที่ผลประกอบการหลังหักต้นทุนการผลิตทุกอย่างนั้นเป็นของเรา เรามีโอกาสที่จะรวย มีเงินซื้อบ้าน ซื้อรถ มีเงินไว้ดูแลคนที่เรารักได้มากกว่าการรอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานที่เราทำ เพราะจากการขายสินค้าที่ตรงตามความต้องการของตลาดและถูกใจผู้บริโภค ทำให้เราไม่ต้องรอโบนัส ไม่ต้องรอปรับเงินเดือน รายได้เป็นแบบวันต่อวัน การทำธุรกิจอาจต้องมีการลงทุน ต้องมีความรู้ในการธุรกิจอยู่บ้าง ถึงแม้มันจะดูยุ่งยาก แต่ผลที่ได้มันย่อมคุ้มค่ากว่าการทำงานกินเงินเดือนประจำไปตลอดชีวิตแน่นอน ไม่เช่นนั้นนักธุรกิจเขาจะทำธุรกิจเพื่อขายสินค้าให้กับคุณทำไมถ้าทำแล้วไม่รวย
หลายๆคนอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เพราะไม่อยากที่จะเป็นมนุษย์เงินเดือน ไม่อยากเป็นลูกน้องใคร ไม่อยากไปทำงานภายใต้แรงกดดันของคนอื่น และอยากที่จะมีเวลาอยู่กับครอบครัว อยู่กับคนที่ตัวเองรักให้มากที่สุด คนเหล่านี้จึงคิดที่จะธุรกิจ แล้วตัวเราล่ะ ยังอยากที่จะเป็นมนุษย์เงินเดือนแบบเดิมอยู่หรืออยากมีเวลาดูแลคนในครอบครัวให้มากขึ้น